ผมได้รวบรวมบทความจากเว็บต่างๆ ในช่วงหัดเขียนงาน ถึงตอนนี้ก็ยังใช้อยู่
แม้ว่าจะทำได้เพียงบางข้อ แต่ก็เห็นว่าน่าจะมีประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจ
จึงขอนำมาลงไว้ในนี้นะครับ
หัวข้อ- การเขียนนิยาย แนวอีโรติก
- พล๊อตชนิดต่างๆ
- การเขียน SEX SCENE
- เทคนิคสร้างบทสนทนาในงานเขียน
- วิธีสร้างความสัมพันธ์ของพระ-นาง
- 10 ขั้นตอนในการเขียนนิยาย
- วิธีบรรยายให้นิยายอ่านแล้วลื่นไหล
- คิดฉากต่อไปไม่ออก..ทำไงดี
- 9 วิธีแก้อาการเขียนไม่ออก
การเขียนนิยาย แนวอีโรติกความหมายนวนิยายอีโรติก คือนวนิยายที่มีการกล่าวถึงหรือเขียนถึงฉากเซ็กส์
โดยเปิดเผย เรื่องราวจะเกี่ยวกันกับการกระตุ้นกามารมณ์ โดยมี เซ็กส์
เป็นส่วนประกอบสำคัญของเรื่อง
อีโรติกแนวไหนที่อยากเขียน
เชื่อไหม หากคุณต้องการเขียน อีโรติกา สามารถเขียนได้ทุกแนวไม่ว่าจะเป็น
โรแมนติก
วิทยาศาสตร์
แฟนตาซี
ลึกลับ สยองขวัญ
สืบสวนสอบสวน
ประเภทอีโรติกาที่คุณจะเขียน
มีสิ่งหนึ่งที่คุณสามารถใช้เป็นทางเลือกในการตัดสินใจได้ก็คือ การใช้รูปแบบทางเซ็กส์
มาช่วยในการตัดสินใจในการเขียน นวนิยายอีโรติก สามารถแบ่งแยกออกได้เป็น
เกย์
เลสเบีย้ น
ชายหญิง
หาไอเดียมาจากไหน
หาได้ในทุก ๆ ที่ เพราะเซ็กส์มันเป็นธรรมชาติ มีอยู่ล้อมรอบตัวเรา ไม่ว่าจะจากหนังสือ
นวนิยาย หนังสือพิมพ์ ภาพยนตร์ หนังสือตลก หนังสือสารคดี ตำนาน นิทาน
เกร็ดประวัติศาสตร์ ข่าว ห้องสมุด อินเตอร์เน็ท ถนน ทางเดิน เวลาไปเดินเล่น เพื่อนฝูง คน
ข้างบ้าน สังคมรอบตัว ฯลฯ
ในการเขียนนวนิยายไม่ว่าจะเป็นแนวไหน ไอเดียมีอยู่รอบตัวเสมอ เพียงแต่ว่า เราจะมองลงไป
ที่จุดไหน ต้องการดึงอะไรออกมาเล่าเรื่องเท่านั้น
องค์ประกอบของนวนิยายอีโรติก
นวนิยายอีโรติกา สามารถเขียนได้ในทุกธีมที่ต้องการเขียน อย่ามองว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับเซ็กส์แล้ว
จะมีเรื่องราวให้เขียนน้อย หรือหาเรื่องเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงไปยังสิ่งอื่น ๆ ไม่ได้
ธีมในการเขียนในอีโรติกามีได้มากมายเช่น
ความรัก การยั่วยวน การหักหลัง การแก้แค้น ความทะเยอทะยาน หรือจะไปในแนว โรคจิต
ความผิดปกติทางร่างกาย การต่อต้านสังคม การเสียดสีสังคม การสร้างค่านิยมในสังคมขึ้นมาใหม่
ความดี ความชั่ว ปรัชญา อาถรรพ์เครื่องรางต่าง ๆ แม้แต่พวกนิทานปรัมปราตำนาน เกร็ดประวัติศาสตร์
แวมไพร์ ก็นำมาเป็นธีมของเรื่องได้ทั้ง นั้น ฯลฯ
ที่สำคัญก็คือ จงเลือกธีมที่คุณสนใจ จริง ๆ เพื่อที่คุณจะได้เอาเป็นแนวทางในการสร้างเรื่อง สร้างเหตุการณ์
และสร้างตัวละคร ที่สอดคล้องกับธีมที่คุณตั้ง เอาไว้
เคล็ดลับ แม้ว่าจะเป็นการดีที่คุณจะรู้ธีมที่คุณจะเขียนตั้ง แต่เริ่มต้น แต่ก็ไม่เป็นไรถ้าคุณจะหามันทีหลัง
เมื่อคุณเขียนได้สักระยะหนึ่ง อ่านแล้วมองหาจากสิ่งที่คุณเขียนลงไป มันอาจจะอยู่ในนั้นแล้ว
เมื่อคุณพบก็เน้นให้มันเด่นขึ้น เท่านั้นเอง จะได้ไม่มีข้ออ้างไงว่า
ไม่รู้จะเขียนเกี่ยวกับเรื่องอะไร ? เลยไม่เขียนเสียที
ตัวละครที่ต้องสร้างในนวนิยายอีโรติก ต้องสมจริง มีมิติ มีความซับซ้อนทางอารมณ์และพฤติกรรม
ไม่ต่างจากนวนิยายแนวอื่น ตัวละครจะต้องมีความต้องการ มีแรงจูงใจ มีอุปสรรค มีเบื้องหลัง มีจุดอ่อน จุดแข็ง
ไม่ว่าเขาจะเป็นใครจะต้องมีเรื่องราวเล็ก ๆ เป็นของตนเองในเรื่องเพื่อผลักดันให้เขาได้แสดงบทบาท
และมีค่าเพียงพอที่จะเอาไว้ในเรื่อง
Plot
นวนิยายอีโรติกา มีความต้องการพล็อตไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการเขียนนวนิยายแนวอื่น
แต่ ความแตกต่างระหว่างนวนิยายที่มีฉากเซ็กส์ทั่วไป กับอีโรติก ก็คือ พล็อต
นวนิยายอีโรติก เป็นนวนิยายที่ใช้ เซ็กส์ เป็นตัวขับเคลื่อนเรื่องราวเข้าใจง่าย ๆ ว่า
ถ้าคุณแต่งนวนิยายสักเรื่องที่มีฉากเซ็กส์ และสามารถตัดฉากเซ็กส์นั่นออกไปแล้วมันยังเป็นเรื่องอยู่
แสดงว่าไม่ใช่อีโรติก
เซ็กส์ในนวนิยายอีโรติก ต้องเป็นสาเหตุทำให้เกิดเรื่องราว และเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่จะนำมาซึ่งสิ่งที่คุณต้องการ
จะบอกเล่า เช่นสร้างความขัดแย้ง สร้างความเข้าใจกัน เป็นสาเหตุนำมาซึ่งสิ่งเลวร้าย หรือสิ่งดี ๆ ที่ตัวละคร
จะได้รับอันเป็นปัญหา หรือ อุปสรรคที่จะได้พบต่อไป
วิธีวางพล็อตอย่างง่าย ก็คือ
เอาเซ็กส์ไว้ที่จุดไคล์แมกซ์ ของเรื่อง แล้วสร้างเหตุการณ์รายล้อมมัน เริ่มต้นอย่างไร มีอะไรเป็นเหตุการณ์เชื่อมโยง
จนถึงจุดนี้และจะจบอย่างไร ?
หากไม่รู้จะเริ่มเขียนยังไง ก็ขอยืม มาจากสิ่งเดิม ๆ ที่มีอยู่แล้ว ที่นิยมเขียนกันมากที่สุด ก็คือ เลียนแบบเทพนิยาย
เช่น ซิลเดอเรลลา โฉมงามกับอสูร เจ้าหญิงนิทรา หนูน้อยหมวกแดง เอามาเขียนแบบเปลี่ยนแปลงตัวละคร
เปลี่ยนฉากสถานที่ เปลี่ยนการกระทำ เสียจนเสียเรื่องไปเลยก็มี ประเภทเขียนตามราศีเกิด ก็มีไม่น้อย ก็ลองนำมา
ปรับเปลี่ยน เอาตามจินตนาการของคุณแล้วกัน
อ้อ ... ไม่ว่าจะสร้างพล็อตแนวไหน สิ่งสำคัญที่สุด อย่าลืม อุปสรรค ความขัดแย้ง ที่ต้องเกิดกับตัวละครเด็ดขาด
เรื่องราวที่ราบรื่นเกินไป สร้างความเบื่อได้ง่ายนะ
Setting
คุณจะให้เรื่องเกิดขึ้น ที่ไหน ก็เลือกให้เหมาะกับพล็อตเรื่อง และแนวที่ต้องการเขียน
หากคุณเพิ่งหัดเขียน ก็ให้เลือกเวลาและสถานที่ ที่ทำให้คุณเขียนได้ง่าย และรู้จักมันดีเอาไว้ก่อนเป็นดี
นอกจากจะเลือก settingเป็นเวทีให้เรื่องได้เกิดขึ้น แล้ว การเลือก setting ในฉากเซ็กส์
ก็มีส่วนทำให้ มีความน่าสนใจมากขึ้น
Point of view
เลือก คนเล่าเรื่อง ที่น่าสนใจก็ต้องเป็นตัวละครที่สำคัญและมีบทบาทในเรื่องสูงสุดอยู่แล้ว
การเลือก pov มีส่วนสำคัญในการแสดงความใกล้ชิดคนอ่าน และแสดงบรรยากาศในเรื่อง
เลือกเอาที่คุณเขียนได้ง่ายและถนัดที่ระวังก็คือ อย่าเปลี่ยน pov ไปมาในฉากเดียวกันบ่อย ๆ เดี๋ยวคนอ่าน งง .
Dialogue
คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า เวลาอ่านหนังสือ หรือดูภาพยนตร์ ส่วนที่สร้างความรู้สึก และความสนใจ
ให้กับคนอ่านมากที่สุดก็คือ บทพูด บทสนทนา ระหว่างตัวละคร เพราะในตอนนี้มันสามารถแทรกอารมณ์ขัน
เปิดเผยอารมณ์ตัวละครได้มาก และอย่าลืมว่าภาษากาย ก็ คือส่วนหนึ่ง ของการสนทนาเหมือนกัน อย่างน้อย
ในบทสนทนาในฉากหนึ่ง ๆ ควรจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวละคร เช่นทัศนคติในเรื่องความรักหรือเซ็กส์
สร้างความขัดแย้งให้กับตัวละครได้บ้าง เปิดเผยข้อมูลบางอย่าง บทสนทนาที่ดีต้องมีเป้าหมายในการเขียน อย่าลืม
-------------------------------
พล๊อตประเภทต่างๆพล็อตเป็นเส้นทางการเดินเรื่อง การวางเหตุการณ์
นวนิยายแต่ละเรื่อง มีวิธีวางเหตุการณ์ไปตามความพอใจ
ตามความถนัดของคนเขียน
แต่ไม่ว่าพล็อตของคุณจะอยู่ในรูปแบบไหน
สิ่งสำคัญคือ ...
ความเข้าใจได้ง่ายของคนอ่าน
เราคงไม่ต้องการให้คนอ่าน อ่านแล้วสรุปว่า ... ไม่รู้เรื่อง
แสดงรูปภาพเฉพาะสมาชิกเท่านั้น
ถือเป็นพล็อตคลาสสิค เห็นบ่อย ตอนแรกก็เกริ่นนํา เข้าสู้เรื่อง ลากไปถึง
ไคล์แมก คลี่คลายปัญหาได้ จบ
แสดงรูปภาพเฉพาะสมาชิกเท่านั้น
พล็อตรูปนี้ตัวละครสําคัญสองตัว ต่างมีพล็อตย่อยของตัวเอง ดําเนินเรื่องโดย
กล่าวถึงตัวละคร สองนี้สลับกันไปมาจนถึงจุดไคล์แมกพบกันแล้วก็จบ
จะแต่งพล็อตแบบนี้ให้ดึงดูดความสนใจต้องเก่งมาก
(ดูจากเพชรพระอุมาตอนจอมพรานและมงกุฎไพร )
แสดงรูปภาพเฉพาะสมาชิกเท่านั้น
ถ้าเป็นเรื่องการเดินทางผจญภัยละก้อ นิยมพล็อตแบบนี้ตัวละครไปพบกับ
เรื่องราวสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันออกไป แล้วก็แก้ ปัญหาเป็ นเรื่อง ๆ
จากนั้นก็เตรียมตัวรับการผจญภัยใหม่ไปเรื่อยๆ
แสดงรูปภาพเฉพาะสมาชิกเท่านั้น
ถ้าเขียนเป็นเรื่องบันทึกการเดินทางเรื่อย ๆ หรือเขียนแบบส่องไฟเดินตามตัว
ละครตัวหนึ่งว่าเขาทําอะไร ในแต่ละวัน ก็มักจะเห็น ในรูปแบบนี้
แสดงรูปภาพเฉพาะสมาชิกเท่านั้น
พล็อตนี้มักจะเป็นในเรื่องสืบสวนสอบสวน
ที่มักจะวกกลับมาเริ่มต้นใหม่
เพราะการสืบสวนผิดทาง หรือผู้ต้องสงสัยที่คิดว่าใช่ เกิดตายลง
หรือได้ข้อมูลใหม่ จึงสร้างความซับซ้อนและคาดเดาได้ยากว่าจะเป็นอย่างไร
ต่อไป
ในตอนจบ
-------------------------------------
การเขียน SEX SCENEปัญหาสำคัญ ของคนอยากเขียนอีโรติกาแต่ไม่กล้าเขียน หรือเขียนไม่ได้ ก็คือฉากเซ็กส์นี่แหละ
คำแนะนำก็คือ คุณควรหาหนังสือสักเล่ม ที่คุณอ่านแล้วชอบฉากเซ็กส์ในเรื่องนั้น ขีดเส้นใต้
หรือเอาปากป้ายข้อความเอาไว้เลย จากนั้น ก็แยกแยะเขียนมันลงกระดาษเปล่า
ไม่ได้ให้คุณเขียนข้อความที่นักเขียนอื่นเขาเขียนเอาไว้หรอก แต่ให้ คุณลำดับ การเขียน
ที่คุณได้อ่าน ว่า เขาเริ่มอย่างไร เขาบรรยายถึงอะไรบ้าง แล้วสิ้นสุดฉากนั้นที่ตรงไหน
เอาละถ้าคุณหาฉากที่ชอบได้แล้วลองดูสิว่ามันได้ออกมาอย่างนี้หรือเปล่า
( ถ้าไม่ใช่ ก็ไม่เป็นไรนะ หาให้เจอก็แล้วกัน แต่ตัวอย่างที่ยกมาพบเห็นบ่อย ๆ )
บางสิ่งที่กระตุ้นหรือเกิดการกระทำ —» ปฏิกิริยาโต้ตอบทางกาย สิ่งที่ประสาทสัมผัสรู้สึกได้
—»อารมณ์ความรู้สึก —» การตอบสนองทางกายอย่างจงใจ —»การโต้ตอบจากฝ่ายกระตุ้นในครั้งแรก
ถ้าเขียนออกมาก็จะได้ เซ็กส์ซีน ที่ออกมาในรูปแบบนี้ ( จะเปลี่ยนเป็นชายหรือหญิงเริ่มก่อนก็ได้ )
ตัวละคร A ( ชาย )
- กระตุ้นหรือกระทำบางอย่างต่อ ตัวละคร B ( เช่น จูบ หรือ กอด )
ตัวละคร B ( หญิง )
- ปฏิกิริยาโต้ตอบทางกายอัตโนมัติ ( ตัวสั่น อ่อนระทวย )
- สิ่งที่ประสาทสัมผัสรู้สึกได้ในสิ่งที่ตัวละคร A ทำ ( ลิน้ ที่ร้อนผ่าว ริมฝีปากที่อ่อนนุ่ม ของเขา )
- ความคิด หรือความรู้สึกในหัวของตัวละคร B ( ทำไมตัวเธอถึงได้สั่นอย่างนี้เธอรอคอยสิ่งนี้มานาน )
- การตอบสนองทางกายอย่างจงใจ ( เริ่มจูบตอบ หรืออะไรต่อมิอะไร )
ตัวละคร A
- แสดงอาการโต้ตอบจากสิ่งที่ตัวละคร B ตอบสนอง อาจจะเป็นคำพูดแล้วการกระทำ หรือ กระทำแล้วพูด ก็ได้
ก็เขียนอย่างนี ้แล้วก็ไปเริ่มต้นใหม่ เวียนไปมาอย่างนี้จนจบฉาก
กุญแจสำคัญของการเขียนลงไปก็คือ
การกระทำต้องมาก่อนความคิดเห็นหรือความรู้สึกของตัวละคร ปฏิกิริยาทางกายจะเร็วกว่าความคิดเสมอ
ให้มี มุมมอง หรือ การเล่าเรื่องของตัวละครเพียงตัวเดียวในตอนนี้ ( ในตอนฝึกเขียนใหม่ ๆ ถ้าเก่งกล้า
แล้วก็ตามใจคุณ แต่ระวังอย่าให้สับสน )
ให้แยกการกระทำของตัวละครแต่ละคนออกจากกัน อย่าบรรยายพร้อมกัน ๆ จะให้ดีเมื่ออยากเปลี่ยนไป
กล่าวถึงการกระทำตัวละครตัวไหน ก็ให้ขึ้นย่อหน้าใหม่ ไปเลยเพื่อคนอ่านจะได้ไม่สับสน
ต้องมีฉากเซ็กส์มากแค่ไหน ในหนึ่งเรื่อง
มีผู้แนะนำว่า การเขียนเซ็กส์ที่ดีที่สุดคือ การชะลอฉากเซ็กส์เอาไว้นานที่สุด
แม้ว่าการเขียนอีโรติก จะเป็นที่คาดหมายได้ว่า ต้องมีการกระตุ้น และปลุกเร้าอารมณ์คนอ่าน
แต่ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมีฉากเซ็กส์ในทุกบททุกซีน ตัวละครไม่จำเป็นต้องถึงจุดสุดยอดในทุกครั้ง
ควรจะเขียนให้ร้อน ได้ตลอดทั้งเรื่อง แต่ไม่ต้องมีฉากเซ็กส์ แสดงให้เห็นฉากเซ็กส์จะมีมากหรือน้อย
ไม่ใช่ประเด็นที่สำคัญ ฉากเซ็กส์ทุกฉาก ต้องมีเหตุผลในการเอามันไปใส่ไว้ตรงนั้น ต้องจำเป็นต่อพล็อต
และทำให้พล็อตก้าวหน้า
เขียนอย่างไรไม่ให้ซ้ำซาก
นี่ก็เป็นปัญหาอย่างหนึ่ง ในการเขียนเซ็กส์ซีน นั่นคือความซ้ำซาก จนน่าเอียน อย่าลืมว่าการเขียนฉากเซ็กส์
ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงประสบการณ์ส่วนตัวของคนเขียนเท่านั้น ควรจะใช้จินตนาการให้มาก ๆ
ศึกษาจากการอ่านคู่มือต่าง ๆ หากคุณอยากเปลี่ยน position
แต่จริง ๆแล้ว คุณเขียนนวนิยายอีโรติก ไม่ใช่คู่มือเมคเลิฟ ปัญหาจึงไม่ใช่อยู่ที่ท่าเมคเลิฟอย่างเดียว
คุณควรจะเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมในสิ่งเหล่านี้ลงไปอย่างละนิดละหน่อย ทุกครังที่จะเขียนเซ็กส์ซีน
• เหตุผล สถานการณ์ที่นำมาซึ่งฉากนี้
• บรรยากาศและสถานที่
• อารมณ์ความรู้สึกของตัวละคร
• บทสนทนาเล็ก ๆ น้อย ๆ
• หากใส่อารมณ์ขัน หรือ ความน่าสงสัยลงไปได้ก็จะดี
• ผลที่ได้รับหลังจากฉากนี้
------------------------------
เทคนิคสร้างบทสนทนาในงานเขียนการพรรณนาสามารถบอกเล่า ได้มากมายเกี่ยวกับตัวละครว่าเป็นอย่างไร แม้แต่สุ้มเสียง
แต่วิธีที่ดีที่สุดที่จะแสดงน้ำเสียงของตัวละครก็คือ การใช้บทสนทนา บทสนทนาจะช่วยให้
ผู้อ่านเห็นเป็นรูปธรรมได้ในจินตนาการ แต่ข้อควรคำนึง คือ บทสนทนานั้น ๆจะต้องสอด
คล้องกับบุคลิกลักษณะของตัวละคร ในทางกลับกัน บทสนทนาย่อมจะแสดงถึงบุคลิกภาพ
ของตัวละครได้ด้วย การใช้บทสนทนาจึงเป็นวิธีการสำคัญอย่างหนึ่งในการเดินเรื่อง
เรามักจะเข้าใจว่าการใช้บทสนทนาในงานเขียนไม่ใช้เรื่องยุ่งยาก เพราะสามารถเขียน
ให้ใกล้เคียงความเป็นจริงได้แต่ขอให้รู้ไว้ว่า
“งานเขียนโดยตัวของมันเองไม่ใช่ธรรมชาติ แต่งานเขียนเป็นรูปแบบหนึ่งของศิลปะ”
เพราะฉะนั้น บทสนทนาในเรื่องแต่งย่อมไม่เหมือนบทสนทนาให้ชีวิตจริงซะทีเดียว
ทั้งนี้ขึ้้นอยู่กับความจำเป็นของเรื่องและแบบวิธีการเขียนของนักเขียน บทสนทนาในเรื่อง
จึงต้องผ่านการคัดสรร ไม่ใช่ใส่ไปทุกถ้อยคำแต่ไม่ได้สื่อความหมายอะไร หรือไม่
ก็ไร้ความหมายต่อเรื่องราวที่เขียน เช่นการนึกถ้อยคำที่จะใช้เรียกไม่ออก เป็นต้นว่า
“เขาเรียกว่าอะไรนะ ไอ้ต้นสูงๆ น่ะ ใบมันหยักๆ มีผลเล็กๆ กลมๆ สีแดงๆ ลำต้นไม่ใหญ่
หรอก”
เราต้องตัดคำที่ไม่จำเป็นกันเรื่องราวออกไป เว้นแต่ว่าจะเป็นการบอกลักษณะนิสัย
หรือแสดงสภาวะอารมณ์ของตัวละครเท่านั้น
การใช้บทสนทนาเป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่ไม่ควรละเลย นักเขียนจะต้องสร้างบทสนทนา
ให้สอดคล้องกับบุคลิกลักษณะของตัวละครในขณะเดียว กันก็ต้องระมัดระวังไม่ให้
แบบวิธีการเขียนของตนก่อให้เกิดความลักลั่นในการ สร้างบทสนทนาในแต่ละบทละคร
จึงกล่าวได้ว่า บทสนทนาควรสอดคล้องกับตัวละครและวิธีการเขียนของเรา เราต้องคำนึง
ถึงว่าบทสนทนามีความสำคัญในการให้ข้อมูลรายละเอียดแก่ผู้อ่าน การแสดงสภาวะทาง
อารมณ์ของตัวละครในสถานการณ์เฉพาะไม่ใช่เป็นเพียงการทำหน้ากระดาษให้เต็มหรือ
ยืดเรื่องไปวันๆ บทสนทนาแต่ละตอนจะเป็นการสร้างเงื่อนปมหรือเป็นการคลี่คลายปม
ของโครงเรื่อง ทีละน้อยๆได้เช่นกัน
---------------------------------
วิธีสร้างความสัมพันธ์ของพระ-นางวิธีพัฒนาความมสัมพันธ์ระหว่างพระ – นาง
พระเอก – นางเอก สนใจอีกฝ่ายหนึ่ง แต่เก็บเอาไว้ในใจ หรือแสดงออกในสิ่งตรงข้าม
โดยพระเอกอาจจะชอบนางเอกแต่ก็แกล้งทำเป็นไม่สนใจ (อันนี้น่าหมั่นไส้สุดๆ)
สร้างความหวั่นไหวในความเชื่อมั่น เช่น นางเอกอาจจะเข้าใจพระเอกผิดมาโดยตลอด
สร้างสถานการณ์ให้อีกฝ่ายได้เห็นมุมมองที่ต่างจากเดิมหรือรู้จักกันมากขึ้น
สร้างสถานการณ์ให้พระ – นาง ต้องอยู่ด้วยกันเพื่อต่อสู้ต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
เช่น หลบหนีจากการตามล่าของเหล่าตัวร้าย
สร้างฉากที่เปิดเผยและแสดงความรู้สึกภายในออกมาให้เห็นว่าอีกฝ่ายมีค่าต่อตัวเองยังไง
โดยอาจจะเกิดขึ้นก่อน , ระหว่าง หรือหลังจุดไคลแมกซ์ก็ได้
สร้างฉากที่ทำให้ตัวละครยอมรับกับความรู้สึกที่เกิดขึ้น ที่เรียกว่า "รัก"เปิดเผยความรู้สึก
ของตนเองออกมาให้อีกฝ่ายได้รับรู้
-----------------
10 ขั้นตอนในการเขียนนิยาย1. ต้องตัดสินใจก่อนนะว่าจะลงมือเขียนอะไร แนวไหน โดยให้เลือกจากสิ่งที่ตนอยากจะเขียน
2. ให้เริ่มต้นจากจุดเล็กๆ ก่อน โดยให้เริ่มจากสิ่งที่คิดได้และจงอย่าลืมใช้จินตนาการลงไปด้วย
เพื่อทำให้ เรื่องราวกว้างไกลออกไปจากจุดเริ่มต้น
3. เริ่มคิดถึงตัวละครว่าต้องการให้มีลักษณะยังไง เหตุการณ์ต้องการให้มีฉากแบบไหน อย่างไร
ตัวละครจะต้องพบเจอกับอุปสรรคอะไรบ้าง และต้องแก้ไขกับปัญหาเหล่านัน้ อย่างไร
4. เลือกสถานที่และเวลาว่าต้องการให้ตัวละครปรากฏขึน้ ตอนไหนของฉาก และต้องพบเจอกับสิ่งใดบ้าง
5. เมื่อสิ่งที่คิดเริ่มเป็นรูปเป็นร่างแล้วก็ให้เลือกฉากหรือเหตุการณ์สำคัญๆ ขึน้ มา 4 -5 เหตุการณ์
แล้วลองคิดว่าต้องการให้เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้น ในช่วงไหนของเรื่อง อาจจะเป็นช่วงต้น กลาง
หรือตอนจบของเรื่อง
6. ตรวจเช็คว่าตัวละคร สถานที่ เวลา และเหตุการณ์ที่คิดขึ้นมานั้น มีอะไรที่ขาดหายไปรึเปล่า
และสิ่งเหล่านี้จะสามารถดึงดูดความสนใจของนักอ่านได้มากพอหรือยัง ถ้าคิดว่ายังไม่พอก็ให้
หาจุดมาแต่งแต้มลงไปอีก
7. เมื่อได้ทุกอย่างตามที่ต้องการแล้ว ก็ให้เริ่มลงมือเขียนอย่างคร่าวๆก่อน การเขียนในครั้งนี้
ภาษาที่เขียนอาจจะไม่ได้สละสลวยก็ไม่เป็นไรจ้ะ ขอให้เราเข้าใจว่าเขียนอะไรลงไป
เพราะเดี๋ยวจะมีการกลับมาแก้ไขภาษาให้สละสลวยอีกครั้งหนึ่ง อย่าลืมหาข้อมูลเพิ่มเติมด้วยนะจ๊ะ
เช่น เขียนเรื่องราวอิงประวัติศาสตร์ เป็นต้น
8. เรียบเรียงเหตุการณ์ให้เป็นไปตามลำดับ อาจจะมีการเพิ่มเติมเหตุการณ์ต่างๆ ลงไปอีก
เพื่อเพิ่มความเข้มข้นของเรื่อง ให้ชวนติดตาม สิ่งที่ไม่จำเป็นก็ให้ตัดออกไป
9. ให้นำสิ่งที่เราเขียนกลับมาอ่านดูว่าดึงดูดความสนใจของเรารึเปล่า ถ้ารู้สึกว่าดึงดูดใจ
ก็ให้เริ่มลงมือเขียนจริงเลยจ้ะโดยเขียนจากสิ่งที่เราวางพล็อตเรื่องไว้ เราอาจจะเพิ่มเติม
รายละเอียดลงไปได้อีก แต่ต้องไม่ลืมพล็อตเรื่องที่เราตั้งไว้
10. เมื่อเขียนเรื่องเสร็จหมดแล้ว ให้เริ่มตรวจสอบดูว่าต้องปรับแก้ไขเพิ่มเติมอะไรบ้างรึเปล่า
หรือเหตุการณ์ที่ไม่สำคัญกับเรื่องก็ให้ตัดทิ้งไปได้เลย อย่าลืมขัดเกลาสำนวนด้วยนะจ๊ะ
------------------------
คิดฉากต่อไปไม่ออก..ทำไงดี1. รู้ว่าอารมณ์ของซีนที่จะเขียนเป็นซีนอะไร
( สนุกสนาน ลึกลับ ต่อสู้ รัก ฯลฯ )
2. วางเป้าหมายว่ามีไว้เพื่ออะไร
( สร้างความเข้าใจผิด บอกเล่าข้อมูล สร้างความเข้าใจกันระหว่างพ่อลูก ฯลฯ )
3. ซีน นี้จะนำไปสู่อะไรต่อไปในเรื่อง
4. จะให้เกิดขึ้น ที่ไหน และเวลาใด
5. กำหนดตัวละครจะให้มีกี่คน
6. ตัวละครแต่ละตัวต้องการอะไร และทำไม
7. ตัวละครจะต้องพูดอะไร ต้องทำอะไร และทำไม
8. ความขัดแย้ง หรืออุปสรรคที่จะเกิดในซีน คืออะไร ระหว่างใครกับใคร
9. ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ใครได้ใครเสีย
10. ซีนนีจะให้จบลงอย่างไรจึงจะทำให้คนอ่านอยากอ่านซีนต่อไป
( ความยุ่งยากของตัวละคร เหตุการณ์ที่บ่งบอกเป็นนัย ๆ ความตั้ง ใจของตัวละครที่
จะทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดหมายได้เกิดขึ้นฯลฯ)
---------------
9 วิธีแก้อาการเขียนไม่ออก1. ค้นหา ปัญหา จริงๆ ที่ทำให้คุณเขียนไม่ออกว่ามันคืออะไร จดเป็นข้อ ๆ ลงไป
2. หากปัญหาของคุณอยู่ที่พล็อตหรือสิ่งในเรื่อง ตรงไหนที่มันทำให้ติดขัดเขียนต่อไป
ไม่ได้ต้องกล้าที่จะตัดทิ้ง้ไปไม่ว่าจะ เขียนมันได้หลายสิบหน้าแล้วก็ตาม
ก็มันไม่เวิร์คก็อย่าเอาไว้เลย
3. หากเป็นเพราะคุณไม่รู้ว่าจะเขียนอะไรต่อไปดี ก็จงไปอ่านหนังสือในแนวที่คุณชอบ
หรือค้นคว้า เพื่อเพิ่มเติมสิ่งที่คุณจะเล่าในเรื่องต่อไป
4. จำไว้ว่า คุณไม่จำเป็นต้องเขียนเรียงไปตามลำดับเริ่มเรื่อง กลางเรื่องจบเรื่อง คิดตอนไหนได้
ก็ให้เขียนตรงนั้นไปก่อนจะเขียนจากหลังมาหน้ายังได้เลย
5. เลือกหัวข้อสักเรื่อง หรือ สักประโยค แล้วก็เขียนแบบ Free writing เลือกคำหรือไอเดีย
ที่คิดได้สักอย่าง แล้วเขียนเรื่องรอบ ๆตัวมัน วิธีนี้ส่วนมากจะทำให้เกิดไอเดียใหม่ ๆ ขึ้นมา
6. หากเป็นเพราะรู้สึกว่า ไม่มีอารมณ์ ก็ลองเปลี่ยนสถานที่ เวลา เปลี่ยนเครื่องมือในการเขียน
จากเขียนลงเครื่องคอมฯ ก็เขียนลงสมุด เปลี่ยนสีหมึก หรือสร้างบรรยากาศในการเขียน เช่น
เพิ่มเสียงเพลง แต่งตัวให้สบาย ๆ ฯลฯ
7. หากเพราะรู้สึกเหนื่อย ก็จง หยุดพักสัก 5- 10 นาที ดื่มกาแฟ คุยกับเพื่อน อ่านหนังสือขำขัน
ออกกำลังกาย ไปเดินเล่น วิ่งเล่น อาบน้ำอุ่น ฯลฯ
8. ทิ้งเอาไว้สักสัปดาห์ แล้วกลับมาลองอ่านในมุมมองใหม่อ่านซ้ำ ๆ และจดไอเดียที่ได้ในแต่ละครั้ง
แล้วนำมาพิจารณาเพื่อแต่งเติมเข้าไปใหม่
9. ระหว่างนี้อย่าได้หยุดเขียน จงเขียนงานอื่นแทนไปก่อนและต้องต้องเชื่อมั่นว่า ในที่สุด ปัญหานี้
จะต้องหมดไปคุณแก้ไขมันได้แน่เชื่อเถอะ
------------------
วิธีบรรยายให้นิยายอ่านแล้วลื่นไหลการเล่าเรื่อง คือ การบอกว่าตอนนั้นๆ เรื่องดำนินอยู่ในเหตุการณ์ไหน ที่ไหน ฉากไหน
โดยจะไม่มีการพรรณนาถึงรายละเอียดที่ลึกกว่านี้
การบรรยาย คือ การเพิ่มเติมรายละเอียดลงไปในการเล่าเรื่อง เป็นการพรรณนาถึงสิ่งต่างๆ
ในฉากและเหตุการณ์ในเรื่องตรงนั้น
การเล่าเรื่อง:
เราต้องรู้ก่อนว่าพล็อตเรื่องของเรานั้น เป็นอย่างไร (อย่างน้อยต้องกำหนดแล้ว ว่าเริ่มเรื่องเป็นยังไง
ตอนจบเป็นยังไง) เมื่อเรากำหนดพล็อตเรื่องแล้วแบ่งเป็นพล็อตย่อยลงไปเรื่อยๆ จนถึงเหตุการณ์
และฉากย่อยต่างๆ เราก็ต้องกำหนดว่าฉากนั้น เป็นเช่นไรเกิดอะไรขึ้น โดยยังไม่มีการพรรณนา
ถึงรายละเอียด
การบรรยาย:
เมื่อเรารู้แล้วว่าในฉากที่เรากำลังจะเขียนนั้น เป็นอย่างไร ก็ถึงเวลาที่จะต้องแต่งเติมรายละเอียด
พรรณนาถึงสิ่งนั้น เพิ่มขึ้นเช่น โครงเรื่องมีอยู่ว่า
"เด็กชายไปเดินชายหาด เกิดลมพัด"
การเล่าเรื่อง- "เด็กชายคนหนึ่งเดินเล่นบนชายหาดแห่งหนึ่ง สักครู่ก็เกิดลมพัด"
การบรรยาย- "เด็กชายร่างเล็กคนหนึ่งเดินเล่นตามชายหาดที่หนึ่ง เม็ดทรายสีทองส่อง
ประกายยามกระทบแสง เมื่อเด็กน้อยเดินมาได้ไม่นาน ก็เกิดลมพัดอ่อนๆพากลิ่นเกลือในทะเลเข้าหาฝั่ง"
จะเห็นว่าเมื่อเติมคำบรรยายเพิ่มเข้าไปแล้ว ก็จะทำให้เนือ้ เรื่องน่าอ่านยิ่งขึ้นไปอีก
การบรรยายสามารถบรรยายได้หลายลักษณะ ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เรากำลังบรรยายอยู่
1.สถานที่
การบรรยายสถานที่ เราจะต้องนึกก่อนว่าสถานที่นั้น ๆ มีลักษณะเป็นอย่างไร ถ้าเป็นสถานที่
ที่ยืมมาจากของจริงจะทำให้แต่งง่ายขึ้น
การบรรยายลักษณะสถานที่ที่เป็นป่า- "...ปรากฏชายป่าแห่งหนึ่งบนผืนดินอันแห้ง แล้ง ดูเหมือนว่า
นี่จะเป็นเพียงส่วนเดียวที่อุดมสมบูรณ์ของบริเวณนี้ เสียงธรรมชาติต่างขับร้องผสานกันราวกับเสียงเพลง
มีทั้ง เสียงนกร้อง เสียงน้ำตกใสที่กระทบกับแหล่งน้ำ ..."
แค่ป่าๆเดียวก็สามารถทำให้เนื้อเรื่องน่าสนยิ่งขึ้น เพียงเติมคำบรรยายลงไป ข้อควรระมัดระวังคือ
ถ้าจะบรรยายลักษณะมีการเปรียบเทียบอย่าให้มันมาก เช่น
การบรรยายอาคารหินอ่อน- "...อาคารทรงลูกบาสก์ขนาดใหญ่หลังหนึ่งตั้งเด่นอยู่ ตรงหน้า สีงาช้างนวล
ของตัวอาคารบ่งบอกว่าทำมาจากหินอ่อนที่ได้รับการขัดให้ผิวเรียบ อย่างดี หากมองเผินๆแล้วราวกับ
พระราชวังหรือคฤหาสน์ซักหลังเป็นแน่ ซุ้มประตูหินอ่อนขนาดใหญ่หน้าตัวอาคารถูกตกแต่งอย่างดี
เหมือนกับเตรียมการต้อนรับใครซักคน..."
ถ้าเปรียบเทียบมากจนเกินไปจะทำให้ผู้อ่านรู้สึกเบื่อซักก่อน ดังนั้น ใส่รายละเอียดอย่าให้ยาวมากเป็นจะดี
ให้ผู้อ่านอ่านแล้วรู้ลักษณะคร่าวๆของตัวอาคารนั้น เป็นพอ
2.สิ่งของ
การบรรยายสิ่งของนั้นง่ายกว่าสถานที่มาก ความยาก-ง่ายขึ้นอยู่กับลักษณะของๆนั้น
เช่น
- เก้าอี้อย่างหรู “…เก้าอีตั้วหนึ่งวางอยู่เบื้องหน้าเขา รูปร่างเหมือนเก้าอีทั้่วไปทุกประการ
แต่มันมีอะไรมากกว่านั้น ฝุ่นและหยากไย่เกาะเต็มตัวเก้าอี้ หากแต่ตัวเก้าอีนั้นยังคงสภาพไว้
อย่างดีราวกับเพิ่งซื้อมันมา ต่างจากสภาพโดยรอบ บ่งบอกเจ้าของเก้าอีตัวนี้ต้องเป็นคนที่มีฐานะพอดู...”
ประมาณนี้ล่ะครับ ถ้าใครอยากใส่อะไรที่หรูกว่านี้ก็ใส่ไป แต่ไม่ควรที่จะให้เยอะเกินไป
ควรทำแบบรวบรัดจะดีที่สุด
3.บุคคล
การบรรยายลักษณะรูปร่างของคนนั้นง่ายที่สุดแล้ว เพราะไม่มีอะไรมาก
เช่น
-ผู้หญิงผมเหลือง ตาสีเขียว หน้าตาสะสวย “...ผู้หญิงคนนั้นดูเป็นจุดเด่นอย่างประหลาด
สำหรับที่สวยงามเช่นนี้เรือนผมงามสลวยยาวสีอำพันของเจ้าหล่อนลู่กับแผ่นหลังเรียว
นัยน์ตาสีมรกตแฝงด้วยแววมุ่งมั่นและอำนาจ ใบหน้ารูปไข่รับกับริมฝีปากบางสีแดงระเรื่อ
เจ้าหล่อนถือเป็นคนสวยคนหนึ่งเลยทีเดียว หากแต่ชายใดก็คงไม่กล้าเข้าไปยุ่ง เพราะรังสี
กระหายอำนาจอย่างเหลือล้นที่แผ่ออกมา...”
การบรรยายเมื่อตัวละครพูด:
ปัญหาเรื่องนีมี้ไม่มากนักแต่เราก็ควรรู้ไว้ หลังจากเขียนบทพูดเสร็จ เราอาจตามด้วยประโยค
“…(ชื่อตัวละคร)เอ่ย พูด กระซิบ ถาม ตะโกน ตอบกลับ ฯลฯ หรือ ท่าทางต่างๆ และบางที
ถ้าประโยครัวจัดล่ะก็ อาจเอาแค่บทพูดเปล่าๆไป เพราะผู้อ่านก็พอจะนึกออกว่าใครพูด
(ถ้า 2 คนจะง่าย) แต่อย่าให้ถี่มากนัก
เช่น
“นี่ คุณเอ ดูอะไรนั่นซิครับ”
หนุ่มร่างสูงนาม ซี เอ่ยเรียกเพื่อนข้างตัว ผู้กำลังสาละวนกับงานของจนอยู่
“ไหน มีอะไร”
เอเงยหน้ามาจากกองเอกสารงาน แล้วมองตามที่นิ้วเรียวของผู้เป็นเพื่อนชี้ไป
“มีอะไรกันหรอ” บี หญิงสาวผู้มีกิจวัตรประจำวันคือแส่ไปทุกเรื่อง
เดินมาทางคนทั้งสอง
“เธอไม่
เอเอ่ยขึ้น หากแต่ยังไม่ละสายตาไปจากภาพตรงหน้า
“ใช่ เห็นด้วย”
----------------